วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
(http://sareka.multiply.com/journal/item/2) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิกหรือแบบสิ่งเร้าและทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม คือการเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญามากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้เป็นต้น
(http://kitforever.web.officelive.com/constructivism.aspx )ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ว่า ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
-ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
ทฤษฎี ในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่าการวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น(http://pirun.ku.ac.th/~g4786027/download/content/content1
/content12/content121/content121.1/content121.1.1.doc)
ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
-ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
- นักจิตวิทยาที่ยึดถือทางพฤติกรรมนิยม แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า
เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้นซึ่งสามารถจะสังเกตได้ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
2 .พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป
-ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธปัญญานิยมคุณลักษณะร่วมของทฤษฎี คือ
1.ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4.การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
- ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ บันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน

สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าหรือที่เรียกว่า ทฤษฎีพฤติ กรรมนิยมและพฤติกรรมที่มนุษย์หรือสัตว์แสดงตอบสนองออกมาหรือที่เรียกว่าทฤษฎีปัญญานิยม
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามนุษย์จำเป็นจะต้องใช้ปัญญามากกว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยม ดังนั้น แม้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะมีอยู่มากมายหลายทฤษฎีแต่ก็มีความหมายในทางเดียวกันคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น