วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
(http://learners.in.th/blog/chonlada2/310310)ได้กล่าวเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนว่า มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย
(http://gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932)ได้กล่าวเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนว่าสื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. รูปแบบหลัก 2. รูปแบบผู้เรียน 3. รูปแบบการปรับตัว โดยผ่านการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือระบบผ่านแบบฟอร์มจากเว๊บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer
(http://www.edtechno.com/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=48:-adaptive-hypermedia-&catid=44:webmaster&Itemid=72)ได้กล่าวเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนว่า องค์ประกอบหลักของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว 1.รูปแบบหลัก (Domain Model: DM) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียนลักษณะโครงสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
1.1แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องเปิดเข้าไปโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าจอแต่ละเรื่อง มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม เป็นการให้ผู้เรียนได้กำหนดความก้าวหน้าและตอบสนองความสำเร็จด้วยตนเอง
1.2แบบเป็นลำดับขั้น (Hierarchical) เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้น มีโครงสร้างเป็นลำดับขั้นแบบต้นไม้ โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้นได้ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบนโดยมีระบบข้อมูลและรายการคอยบอก
1.3แบบเครือข่าย (Network) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ความซับซ้อนของเครือข่ายพึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุดร่วมที่มีอยู่


2. รูปแบบของผู้เรียน (Student Model: SM) เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
3. รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model: AM) สรุปได้ดังนี้
3.1 การนำเสนอแบบปรับตัว (adaptive presentation) ซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับการปรับเปลี่ยนในระดับเนื้อหา
3.2 การสนับสนุนการนำทางแบบปรับตัว (adaptive navigation support) เป็นแนวคิดเพื่อช่วยสนับสนุนกันเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาแต่ละหน้า
- การแนะโดยตรง - การเรียงแบบปรับตัว
- การซ่อน
-บรรณนิทัศน์ปรับตัว


สรุป
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย 3 รูปแบบ
1.รูปแบบหลัก
-แบบไม่มีโครงสร้าง
-แบบเป็นลำดับขั้น
-แบบเครือข่าย
2. รูปแบบของผู้เรียน
3. รูปแบบการปรับตัว
3.1 การนำเสนอแบบปรับตัว
3.2 การสนับสนุนการนำทางแบบปรับตัว
9.สื่อประสม คือ อะไร
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523: 115) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมว่า เป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระในลักษณะมีสื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
อิริคสัน (2508: 11) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมว่า สื่อประสมหมายถึง การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใช้ที่ลึกซึ้ง จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
(http://porhiso2.blogspot.com/2007/09/blog-post.html) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และ วิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
สรุป
สื่อประสมคือ การนำเอาสื่อหลายๆแบบมารวมและประยุกต์ใช้เข้าด้วยกัน แล้วทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการใช้งานถ้าในด้านการเรียนก็จะต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
8.สื่อการสอนคือ อะไร
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551: 12) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนว่า คือวัสดุอุปกรณ์หรืออาจจะเป็นวิธีการที่เป็นตัวกลางการถ่ายทอดในการสื่อความหมายเพื่อให้รับรู้ทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสารมีความเข้าใจที่ตรงกัน
วาสนา ชาวหา (2533: 8) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะนำความรู้ไปสู้ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี
(http://gotoknow.org/blog/Ok17081984/52408)ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนว่านักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
สรุป
สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่งเครื่องมือนั้นอาจจะเป็นสิ่งใดก็ได้ที่ทำให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
7.เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
(http://gotoknow.org/blog/klick2know/106346) ได้กล่าวเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันเราจัดในห้องเรียนมีครู-อาจารย์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่แนวโน้มของการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดเป็นทำเป็น(Constructive) ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเป็นองค์ความรู้(Knowledge Body)ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ ที่แตกต่างกันของบุคคล(Individual different)ครูจะกลายมามีบทบาท ในการให้ความช่วยเหลือแนะนำ(Facilitator) ในการเรียนการสอน ดังนั้นด้วยในคุณสมบัติที่ดีของศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถสร้างห้องเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Classroom) และการจัดการศึกษาแบบe-Educationซึ่งสามารถออกแบบ หลักสูตร,เนื้อหา,กระบวนการเรียนการสอนและบทเรียนที่บรรจุข้อมูล ทั้งตัวอักษรและรูปภาพให้ผู้เรียนลงทะเบียนเข้ามาศึกษาได้และ สามารถประเมินผลได้ด้วยตนเองหลังจากเรียนจบแต่ละหน่วย การเรียนและยังจะมีโอกาสฝึกฝนจนรู้จริงซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ บทเรียนโดยนักออกแบบการเรียนการสอน(Instructional Designer) ซึ่งจะเป็นครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษในยุคอนาคตที่สามารถจัดการเรียนรู้ในรูปแบบe-Learningนั่นเอง
(http://gotoknow.org/blog/oatband/138554) ได้กล่าวเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศว่าในยุคโลกาภิวัตน์ มีการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสารอย่างสูง ในสถานศึกษาเองก็เช่นกัน ก็ต้องมีการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมากในสถานศึกษาแต่ในหลายปัจจัยและองประกอบด้านความพร้อมของสถานศึกษานั้นไม่เท่ากัน โรงเรียนเล็กๆไม่เทียบเท่าอย่างโรงเรียนใหญ่ๆการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตควรให้เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม ฉะนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจังและยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (2550:7) ได้กล่าวเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อันเป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศอย่างมาก และมีวิทยาการด้านอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์และพัฒนาให้ทันต่อสังคม สารสนเททศเพื่อให้ทันกระแสโลกยุคใหม่ระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การศึกษาทางไกล การประชุมทางไกล ระบบแพทย์ทางไกล และระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น ทำให้เกิดบริการประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกมากมายด้วยราคาของอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาต่ำลง ทำให้สังคมแพร่หลายขยายการก้าวเข้าสู่สังคมยุคข่าวสารข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มีผลทำให้หลายประเทศได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องมีต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม

สรุป
เนื่องจากปัจจุบันการศึกษาส่วนมากจะต้องมีการ สืบค้นข้อมูล เก็บข้อมูล หรือแม้แต่การเรียนการสอนก็ต้องผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งนั้น
6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (2550:3) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสม ผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
(http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
(http://gotoknow.org/blog/narumon/31179) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจะนำข้อมูลนั้นไปเผยแพร่ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด
5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551: 39) ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีหมายถึงอะไรว่า เป็นวิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
Heinich และคณะ (2531:39) ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีหมายถึงอะไรว่า เป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์อย่างมีระบบเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:50) ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีหมายถึงอะไรว่า เป็นการนำเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นระบบที่มีซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-1.htm)ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีหมายถึงอะไรว่า การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์
สรุป
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานหรือความสะดวกสบาย ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช (2549: 19) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่า เป็นการนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติของการศึกษาใหม่ๆ มาใช้กับการศึกษา
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:46) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่าเป็นความใหม่ทางด้านการศึกษา อาจเป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษา เป็นทฤษฎีใหม่ๆ เป็นวิธีสอนใหม่ๆ เทคนิคใหม่ รวมทั้งการนำเสนอสาระด้วยสื่อใหม่ๆ
(http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1)ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่านวัตกรรมแบบทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
(http://www.suphet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=133058&Ntype=2)ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่าการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
(http://gotoknow.org/blog/hhhhhh/104215)ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาว่าการนำเอาสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากเดิม อาจเป็นแนวความคิดหรือการกระทำ เข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดเวลาในการเรียน พร้อมได้ผลดีมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสุงกว่าเดิมอีกด้วย เหตุผลที่ให้ความหมายนี้คือ เนื่องจากปัจจุบันประเทศได้มีการเจริญรุ่งเรื่องในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นทางการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงความรู้เก่าๆให้อยู่ในรูปแบบใหม่ๆเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับประสิทธิภาพกว่าเดิม
สรุป
นวัตกรรมทางการศึกษา คือเป็นการใช้เครื่องมือ สื่อหรือแนวคิดใหม่ๆ นำเข้ามาใช้กับการศึกษาและทำการศึกษานั้นให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นและประหยัดเวลาด้วย
3.นวัตกรรม คืออะไร
ปรัชญา ใจสะอาด (2534: 257) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า คือ ความคิด หรือการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ
แมทริว ไมลล์ (2540: 27) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถี่ถ้วนการเปลี่ยน แปลงให้ใหม่ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายเห็นว่าเป็นของใหม่
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2537: 12) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า เป็นการนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิมเพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สุภากร ราชากรกิจ (2537: 59) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า เป็นการปฏิบัติหรือกรรมวิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งใหม่ๆให้ดีกว่าเดิม
ทอมัส ฮิวส์(2543: 171) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่าเป็นการนำวิธีการใหม่มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนาเป็นขั้นๆแล้วโดยเริ่มตั้งแต่การคิดค้นซึ่งจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=2) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า “นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สรุป
นวัตกรรม คือ การคิดทำสิ่งใหม่ๆที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม โดยจะต้องมีความทันสมัยและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร
(http://tupadu.multiply.com/journal/item/2)ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า บรูเนอร์ได้สรุปความสำคัญของการเรียนรู้โดยการค้นพบว่าดีกว่าการเรียนรู้ โดยวิธีอื่นดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียนจะเพิ่มพลังทางสติปัญญา
2.เน้นรางวัลที่เกิดจากความอิ่มใจในสัมฤทธิผลในการแก้ปัญหามากกว่ารางวัล หรือเน้นแรงจูงใจ ภายในมากกว่าแรงจูงใจภายนอก
3. ผู้เรียนจะเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยการค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้
4. ผู้เรียนจะจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน
(http://www.st.ac.th/av/learn_theo.htm) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์(Tylor)
1. ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรม และประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่องกัน
2. การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ จึงควรให้มีการเรียงลำดับก่อนหลังเพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. บูรณาการ(Integration) หมายถึงการจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆกันประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
(http://kruthainst4.ning.com/forum/topics/bloom-blooms-taxonomy) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)
Bloom ได้แบ่ง การเรียนรู้ 6 ระดับ
- ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
- ความเข้าใจ (Comprehend)
- การประยุกต์ (Application)
- การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
- การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้น โครงสร้างใหม่
- การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
(http://th.wikipedia.org/)ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ว่าการเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor) ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
- การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้ - การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ - การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว - ความสามารถในการจำ (Retention Phase) - ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase ) - การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase) - การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase) - การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
สรุป
แต่ละทฤษฎีนั้นมุ่งเน้นเหมือนกันทุกทฤษฎี คือ การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการศึกษาด้วยวิธีต่างๆดังนี้
ความจำ
ความจูงใจ
ความเข้าใจ
การนำไปประยุกต์ใช้
การประเมินค่า
1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
(http://sareka.multiply.com/journal/item/2) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิกหรือแบบสิ่งเร้าและทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม คือการเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญามากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้เป็นต้น
(http://kitforever.web.officelive.com/constructivism.aspx )ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ว่า ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
-ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
ทฤษฎี ในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่าการวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น(http://pirun.ku.ac.th/~g4786027/download/content/content1
/content12/content121/content121.1/content121.1.1.doc)
ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
-ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
- นักจิตวิทยาที่ยึดถือทางพฤติกรรมนิยม แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า
เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้นซึ่งสามารถจะสังเกตได้ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
2 .พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป
-ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธปัญญานิยมคุณลักษณะร่วมของทฤษฎี คือ
1.ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4.การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
- ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ บันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน

สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าหรือที่เรียกว่า ทฤษฎีพฤติ กรรมนิยมและพฤติกรรมที่มนุษย์หรือสัตว์แสดงตอบสนองออกมาหรือที่เรียกว่าทฤษฎีปัญญานิยม
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามนุษย์จำเป็นจะต้องใช้ปัญญามากกว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยม ดังนั้น แม้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะมีอยู่มากมายหลายทฤษฎีแต่ก็มีความหมายในทางเดียวกันคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน